พิมพ์
รายละเอียด: | ฮิต: 16734
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

วิธีปฏิบัติธรรม
(เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย)
   
   สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้น

ได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้ เป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อการดำรง

ชีวิตอย่างเป็นสุขไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่

เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

ดังวิธีปฏิบัติที่ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) 

หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้


       ๑. กราบบูชาพระรัตนตรัยเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น

แล้วสมาทานศีล
  หรือศีลเพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง


       ๒. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต

และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่า ร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุ

แห่งคุณงามความดีล้วนๆ
        


       ๓.
ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวา

จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย
  วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาเบาๆ ค่อนลูก พอ

สบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ
  อย่าบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา           


           ทำใจของเราให้เบิกบาน แช่มชื่น สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่า

จะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
  ให้ปล่อยวาง ทำใจให้ว่าง คลายความผูกพันในทุกสิ่ง  แล้วก็

รวมใจหยุดนิ่งอย่างนุ่มๆเบาๆที่ศูนย์กลางกายฐานที่
7 เหนือระดับสะดือขึ้นมา 2 นิ้ว

มือ อยู่ภายในกลางท้องของเรา
  โดยสมมุติว่ามีเส้นด้าย 2 เส้น เส้นหนึ่งขึงจากสะดือ

ทะลุไปด้านหลัง อีกเส้นหนึ่งขึงจากด้านขวาทะลุไปด้านซ้าย เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็น

กากบาท จุดตัดเล็กเท่ากับปลายเข็ม
  เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา 2 นิ้วมือ เรีบกว่าศูนย์กลาย

กายฐานที่
7 ซึ่งเป็นต้นทางไปสู่อายตนนิพพาน           


           จากนั้นจึงกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงกลมใสเหมือนกับเพชรลูกที่เจียระไน

แล้ว
  ไม่มีตำหนิ ใสสะอาดบริสุทธิ์  โตเท่ากับแก้วตาหรือขนาดใดก็ได้ นึกอย่างสบายๆ

นิ่งๆ เบาๆ พร้อมกับประคองใจให้หยุดนิ่ง ด้วยบริกรรมภาวนาในใจเบาว่า
สัมมา อะ

ระหัง...สัมมา อะระหัง...สัมมา อะระหัง
ให้เสียงของคำภาวนาดังออกมาจากกลาง

ท้องของเราอย่างต่อเนื่อง
  ทุกครั้งที่ภาวนา สัมมา อะระหังต้องไม่ลืมนึกถึงดวงกลมใส

ที่ศูนย์กลางกายด้วย
           


           การนึกภาพดวงกลมใสและคำภาวนาในใจนี้จะช่วยนำใจของเราที่ฟุ้งออกไปใน

เรื่องราวต่างๆนอกตัว ทั้งเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจ การงาน ครอบครัว บ้านเรือน การ

ศึกษาเล่าเรียน หรือเรื่องที่นอกเหนือจากนี้
  ให้กลับมาสู่ฐานที่ตั้งดั้งเดิมของใจ ซึ่งเป็น

ตำแหน่งที่จะทำให้เราได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมาเกิดเป็นมนุษย์ คือการเข้าถึงดวง

ธรรมและกายภายในต่างๆ ซึ่งมีอยู่แล้วภายในตัวเรา
           


           ให้ภาวนา สัมมา อะระหัง ไปจนกว่าใจจะหยุดนิ่ง และเกิดความรู้สึกว่าไม่

อยากจะภาวนาต่อไป อยากจะหยุดใจนิ่งเฉยๆ  อยู่กับภาพของดวงกลมใสที่เราเห็น

เมื่อรู้สึกเช่นนี้ ก็ปล่อยให้เป็นอย่างที่ใจอยากจะเป็น
  แล้วใจของเราจะค่อยๆ เคลื่อนเข้า

สู่ภายในอย่างสบายๆ โดยมีภาพนิมิตหรือไม่มีก็ได้ ในที่สุดแล้ว จะมีความสว่างบังเกิด

ขึ้น หรืออาจเห็นเป็นจุดเล็กๆ ใสๆ เหมือนดวงดาวในอากาศที่อยู่บนท้องฟ้าในยาม

ราตรี
           


           จุดสว่างนี้เป็นที่ประชุมของความรู้และความลับของชีวิต นับตั้งแต่ดวงธรรมใน

ดวงธรรม กายในกาย ภพภูมิต่างๆ และธรรมทั้งมวลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำมา

สั่งสอน เป็นจุดสว่างเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทรเม็ดเล็กๆ ซึ่ง

เป็นที่รวมของกิ่งก้าน ใบ ดอก และผล ของต้นโพธิ์หรือต้นไทรใหญ่ๆทั้งต้น
           


           เมื่อเราสามารถรักษาความนิ่งของใจเอาไว้กับจุดใสสว่างนั้นได้อย่างมั่นคง จน

กระทั่งความคิดอื่นเข้ามาแทรกไม่ได้ ใจก็จะยิ่งบริสุทธิ์
  ยิ่งนิ่งใจก็ยิ่งบริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์

ก็ยิ่งมีความสุข ยิ่งมีความสุข แสงสว่างก็ยิ่งเกิด
  แสงสว่างยิ่งเกิด การเห็นแจ้งก็ยิ่งเกิด

การเห็นแจ้งทำให้เรารู้แจ้ง
  ความรู้แจ้งทำให้เราหายสงสัย  การหายสงสัยทำให้เรา

ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง
  ปรับเข็มทิศชีวิตไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างแม่นยำ  เพราะ

ฉะนั้นจุดว่างเล็กๆ ใสๆ นี้จึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องครอบครองให้ได้
  เราจะครอบครองได้

ต่อเมื่อใจของเราหยุดนิ่ง
  แล้วความรู้สึกอันยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นภายในตัว เป็นความยิ่ง

ใหญ่ที่ปราศจากทิฐิมานะและความลำพองใจ
  ยิ่งใหญ่อย่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง

เป็นอิสระอย่างแท้จริง มีความพึงพอใจ อยู่ได้ด้วยตัวของตัวเอง
  เราจะมีดวงปัญญาเกิด

ขึ้น ทำให้ทราบว่าความพอดีของชีวิตเป็นเช่นไร
  เราจะกินแต่พอดี อยู่แต่พอดี และใช้

แต่พอดี
  เพื่อสงวนเวลาของชีวิตที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ มาแสวงหาอริยทรัพย์ภายใน

และความรู้ในวิชชาธรรมกาย ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งการหลุดพ้นที่

สมบูรณ์ที่สุด
  คือที่สุดแห่งธรรม


ข้อแนะนำ
คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ

ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึง

กับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลจนได้ดวงปฐม

มรรคที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงที่ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึก

ถึงอยู่เสมออย่างนี้แล้ว



ผลแห่งสมาธิ จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ
และความไม่

ประมาทได้ตลอดไป



ทั้งยังจะทำให้
สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย





E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Copyright (c) ๒๐๐๔ All rights reserved