พิมพ์
รายละเอียด: | ฮิต: 11057
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

๒๔ ชั่วโมงแห่งความดี

      หลังจากบวชแล้ว กิจวัตรกิจกรรมส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม เข่น สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น นั่งสมาธิ ฟังธรรม ท่องบทสวด บันทึกผลการปฏิบัติธรรม ดู DMC และแบ่งกลุ่มกันรับบุญต่าง ๆ แต่มีกิจวัตรที่เพิ่มขึ้น ๒ อย่าง คือ การบิณฑบาต และปลงอาบัติ เพื่อความบริสุทธิ์

ตารางชีวิตของพระภิกษุธรรมทายาท

                                         ๐๔.๓๐ น.เสียงระฆังดังกังวาน ปลุกให้ตื่นนอน

                                         ๐๕.๐๐ น.นั่งสมาธิ สวดมนต์ทำวัตรเช้า

                                         ๐๖.๐๐ น. ช่วยกันรับบุญ (ทำงาน) โดยแบ่งกลุ่ม ดังนี้

                                                   ๑.รับบุญจัดภัตตาหาร และปานะ

                                                   ๒.รับบุญทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติธรรม

                                                   ๓.รับบุญทำความสะอาดห้องนํ้า ๔.รับบุญซักจีวร

                                         ๐๗.๐๐ น.ฉันเช้า และฟังธรรม

                                         ๐๘.๓๐ น.พัก

                                         ๐๙.๐๐ น.นั่งสมาธิ

                                         ๑๐.๓๐ น.พัก เตรียมตัวฉันเพล

                                         ๑๑.๐๐ น.ฉันเพล และฟังธรรม

                                         ๑๓.๐๐ น.พัก

                                         ๑๓.๓๐ น.ศึกษาเรื่องศีลและวินัยของพระ

                                         ๑๔.๓๐ น.นั่งสมาธิ

                                         ๑๖.๐๐ น.พักฉันบ่านะ

                                         ๑๖.๓๐ น.ทำความสะอาดวัด รักษาความสะอาดรอบกลด

                                         ๑๗.๓๐ น.ทำภารกิจส่วนตัว

                                         ๑๘.๐๐ น.นั่งสมาธิ ทำวัตรเย็น

                                         ๑๙.๓๐ น.ฟังธรรมจากวัดพระธรรมกายผ่านสัญญาณดาวเทียม

                                         ๒๑.๐๐ น.ลงอาบัติ เตรียมตัวจำวัด

 

 

แม้ชีวิตพระไม่ใช่ชีวิตที่สะดวกสบาย แต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข สุข... จากความสงบที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม สุข... ในความเป็นอิสระจากเครื่องกังวลต่าง ๆ สุขจากการไม่เบียดเบียน

 

 

        กิจกรรมอีกประการหนึ่งที่พระภิกษุในโครงการนี้ได้ทำ และ พลาดไม่ได้ที่จะต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง ก็คือ การเดินธุดงค์ ซึ่งมีชื่อ ว่า ธุดงค์ธรรมชัยการเดินธุดงค์ครั้งนี้ เป็นการเดินธุดงค์ครั้งประวัติศาสตร์ คือ เดินพร้อมกันทุกจังหวัด และเดินเป็นหมู่คณะ ไม่ใช่เดินแบบ เดี่ยว ๆ เป็นช่วงเวลาที่เรียกได้ว่า ผ้ากาลาวพัสตร์โบกสะบัด ทั้งแผ่นดินอย่างแท้จริง ซึ่งพระภิกษุทุกรูปล้วนได้รับประสบการณ์ ที่ยากจะลืมเลือนในแง่มุมที่แตกต่างกัน

        ธุดงค์ธรรมขัยมีจุดประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาวัดร้าง หลัง จากจบโครงการแล้ว พระภิกษุในโครงการนี้ที่ยังบวชต่อ จะแยก ย้ายกันไปประจำตามวัดร้างต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง จึ่งจะมีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และศีลธรรม ในจิตใจของผู้คนก็จะเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

 

พระกิตติพันธ์ คุณธโช

      พระรุ่นกองพลแสนรูป ศูนย์อบรม วัดพระธรรมกาย มีประสบการณ์ระหว่าง ธุดงค์ที่ลืมไม่ลงไปชั่วชีวิตเลยทีเดียว  ท่านเดินธุดงค์จากวัดพระธรรมกาย ไปพักที่วัดบางบุญสิงห์ จ.ปทุมธานี ช่วงที่พักอยู่ที่วัดบางบุญสิงห์ อ.ลาดหลุมแก้ว ท่านและเพื่อนพระภิกษุรวม ๕๐ รูป ออก บิณฑบาตทุกเช้า โดยท่านรองเจ้าอาวาสวัดบางบุญสิงห์ให้แบ่งกัน ออกบิณฑบาตหลาย ๆ สาย จะได้โปรดญาติโยมได้ทั่วถึง

       เช้าวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ พระกิตติพันธ์และ พระภิกษุอีก ๕ รูป ออกบิณฑบาต โดยมีท่านรองเจ้าอาวาสวัดบาง บุญสิงห์เป็นผู้นำในการบิณฑบาต  "วันนั้นเป็นวันที่อาตมาไม่มีวันลืม ก่อนไปบิณฑบาต ท่านรองเจ้าอาวาสบอกกับพวกเราว่า ถ้าเจออะไรอย่าทัก ให้เฉย ๆ นิ่ง ๆ ตอนนั้นอาตมาไม่ทันได้คิดอะไร ได้แต่รับฟืงเฉย ๆ เมื่อออก ไปบิณฑบาต ระหว่างทางมีต้นโพธื้ต้นหนึ่ง ใกล้ ๆ ต้นโพธี้มีสิ่งที่ สะดุดใจอาตมามาก ก็คือ มีผู้หญิงคนหนึ่งมาตั้งโต๊ะรอใส่บาตร ตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง ประมาณตี ๕ กว่า ๆ เป็นผู้ใจบุญคนแรกใน วันนั้น"  

 

       

       หญิงผู้ใจบุญคนนื้ สร้างความแปลกใจให้กับพระกิตติพันธ์เล็กน้อย เพราะเธอเตรียมอาหารตักบาตรไว้ทั้งหมด ๖ ชุด ราวกับ จะรู้ว่า พระจะมาบิณฑบาตกันทั้งหมด ๖ รูป แต่เรื่องที่น่าแปลก มีมากกว่านี้..."อาตมาเหลือบสายตาสังเกตดูว่า ผู้หญิงใจบุญคนนี้หน้าตา เป็นอย่างไร พอมองไปก็เห็นดวงตาของเธอ อาตมาขนลุกขึ้นมา ทันทีแบบไม่ทราบสาเหตุ เพราะตาของเธอกลม โต นิ่ง ไม่กะพริบ เลย ผิวพรรณขาวผุดผ่อง ผมยาวสลวย แต่งกายด้วยชุดขาวสุภาพ ใส่เ สื้อขาวแขนยาว เธอค่อย ๆ บรรจงใส่ข้าวสวย ๑ ถุง ไข่เป็ดต้ม ๑ ฟอง และแกงอีก ๑ ถุง"  ที่น่าอัศจรรย์กว่านั้น ก็คือ เมื่อพระรูปสุดท้ายปิดฝาบาตร เดินไปประมาณ ๔-๕ วา พระภิกษุที่เดินอยู่รูปสุดท้ายก็สะกิด พระกิตติพันธ์เบา ๆ แล้วบอกว่า "ดูสิ หายไปหมดแล้ว ทั้งคน ทั้งโต๊ะ"  พระทุกรูปรีบสะกิดต่อ ๆ กันไป แล้วก็พากันหันไปดู แต่ ต้องประหลาดใจไปตาม ๆ กัน เพราะทุกสิ่งอันตรธานไปหมดแล้ว ทุกรูปจึงพร้อมใจกันเปิดฝาบาตร เมื่อเห็นของในบาตรแล้ว ทุกรูป ก็ฟันธงเลยว่า ผู้ที่มาตักบาตรรายแรกของวันนี้ไมใช่มนุษย์แน่นอน เพราะว่าข้าวสวย ๑ ถุง ไข่ต้ม ๑ ฟอง และแกง ๑ ถุง หายไป หมด สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียงข้าวสาร ๑ ถุงเท่านั้น

       พระภิกษุทุกรูปตื่นเต้นกันมาก อะไรจะอัศจรรย์ปานนี้ แต่ ท่านรองเจ้าอาวาสท่านนิ่ง ๆ แล้วก็บอกว่า "ธรรมดา" พระกิตติพันธ์และเพื่อน ๆ ไม่เคยเจอเรื่องแบบนี้มาก่อน ท่านไม่คิดหรอกว่านี่เป็นเรื่องธรรมดา ท่านตื่นเต้นมาก ๆ และมี ความเชื่อมั่นคำสอนในพระพุทธศาลนามากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับโลก หน้า ที่สำคัญท่านเชื่อมั่นว่าการตั้งใจ'ฝึกฝนตนเองให้เป็นพระภิกษุ ที่ดีนั้นได้บุญมหาศาลจริง ๆ มิฉะนั้นบุคคลพิเศษที่ท่านได้พบใต้ต้น โพธึ๋ต้นนั้น จะมานั่งรอทำบุญกับพวกท่านทำไม "ก่อนหน้านี้ อาตมาเคยฟังหลวงพ่อพูดเรื่องขาวลับแล เรื่อง เทวดา อาตมาก็คิดว่าน่าจะมีจริง แต่ไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาสได้เจอ ด้วยตัวเอง จากรูปพรรณสัณฐานที่เจอ อาตมาและเพื่อนสหธรรมิก คาดกันว่า เธอน่าจะเป็นเทพธิดาที่อยากมาเอาบุญกับพระใน โครงการบวชพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูป อย่างพวกเรา เพราะพวกเรา มั่นใจว่า ระหว่างบวชเป็นพระกองพล ๑๐๐,๐๐๐ รูปนี้ พวกเรา ตั้งใจ'ฝึกฝนตนเองกันอย่างเต็มที่

       "ตัวอาตมาเอง พอรู้ข่าวบวช ๑๐๐,๐๐๐ รูป จากพี่สาว ก็นั่งรถจากเชียงรายมาสมัครบวชที่วัดพระธรรมกายทันที เพราะอยากมาบวชที่ต้นแหล่ง ขลังดี อาตมาเข้ามาเขียนใบสมัคร เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นวันแรกที่อาตมามาที่ วัดพระธรรมกาย เมื่อเข้าโครงการแล้วก็ตั้งใจ'ฝึกฝนอบรมตนเองทุกรูปแบบ เพื่อให้เป็นพระแท้ จะได้อุทิศบุญบวชให้พ่อแม่และ เป็นเนื้อนาบุญให้กับญาติโยม

       "ตอนนี้อาตมายังเก็บข้าวสารที่ได้จากหญิงต่างภพไว้ ข้าวสารนี้มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คล้ายดอกมะลิ อาตมานับได้ ๒,๘๘๗ เม็ด ไม่รู้ว่าเท่าจำนวนอายุของเธอหรือเปล่า อาตมากะว่าจะเก็บ ข้าวสารนี้ไว้เป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งสมัยที่เราบวชรุ่น ๑๐๐,๐๐๐ รป เทพธิดาก็ยังอยากมาเอาบุญกับเราเลย

       "อาตมาตั้งใจว่าแม้จะเหลือเวลาในเพศสมณะอีกไม่นาน แต่ อาตมาก็จะทำทุกวินาทีที่เหลืออยู่ให้เกิดบุญสูงสุด จบโครงการแล้ว ก็จะติดจานดาวธรรมให้ที่บ้าน รักษาศีล ๕ ให้ได้ตลอดชีวิต และ จะทำให้ทุกคนในครอบครัวของอาตมาเป็นพุทธศาลนิกชนที่ดี ที่ จะคอยเป็นกำลัง เป็นแขน เป็นขา ข่วยเหลืองานพระศาสนาอย่าง เต็มที่"

แม้เรื่องที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นเรื่องที่อยู่เหนือจินตนาการก็จริง แต่สิ่งที่ทุกคนพอจะจินตนาการได้ ก็คือ การตั้งใจบวชเพื่อฝึกฝน ตนเองให้เป็นพระแท้นั้น ได้บุญมากจริง ๆ ...

 

ประสบการณ์จากการเดินธุดงค์แบบตื่นเต้นก็ได้พบมาแล้ว ขอเชิญสัมผัสกับการเดินธุดงค์อีกรสชาติหนึ่งบ้าง...

      ที่จังหวัดภูเก็ต พระภิกษุศูนย์อบรมวัดวิชิตสังฆาราม เดินธุดงค์ไปยังสำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดาร พวกท่านเดินผ่านเนิน เขาสีเขียวตัดกับท้องฟ้าสีคราม เป็นระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร แล้วนั่งเรือต่อไปอีก ๓ กิโลเมตรจึงจะถึงสำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดาร สถานที่ที่เชื่อกันว่ามีพระพุทธบาทรอยที่ ๕ ของฝืงอันดามัน ประดิษฐานอยู่บนโขดหินใหญ่  เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดาร คือ พระอาจารย์ ลำจวน ธรรมสาโร อายุ ๗๑ ปี พรรษา ๔๑ ดูแลสำนักสงฆ์แห่งนี้ มา๒๔ปีแล้ว

      " เมื่อก่อนเกาะนี้เกือบจะเป็นแหล่งกาสิโน หลวงพ่อรู้ว่าที่นี่ มีรอยพระพุทธบาทรอยที่ ๕ ขวาและซ้าย หลวงพ่อจึงไม่ยอม หลวงพ่อตั้งใจพัฒนาที่ตรงนี้ พัฒนาไป ๘ ปี ถึงจะบุกเบิกได้ ญาติโยมมาเห็นก็เกิดศรัทธา มาช่วยกันทะนุบำรุง ตอนนี้จึงมี พร้อมหมด"

      เมื่อพระธรรมทายาททราบว่า สำนักสงฆ์แห่งนี้สร้างมาด้วย ความยากลำบาก จึงตั้งใจพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้สะอาดงดงาม ยิ่งขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูขา โดยช่วยกันปิด กวาด เช็ด ถู กวาด ใบไม้ ช่วยกันพัฒนาห้องนํ้า ทาสีใหม่ การเดินธุดงค์ไปยังสำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดารครั้งนี้ ทำให้พระ ธรรมทายาท ๒ รูปเกิดกุศลศรัทธาที่จะบวขต่อ เพื่อช่วยงานพระ ศาสนาอยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้...ส่วนบรรยากาศการเดินธุดงค์ของพระธรรมทายาทจาก วัด พระธรรมกายไปยังจังหวัดสุโขทัยก็เป็นอีกรสขาติหนึ่ง

      จุดหมายแรก คือ วัดถกพระแม่ย่า อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ซึ่งต้อง เดินธุดงค์เป็นระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร ผ่านขุนเขาในอุทยานแห่งชาติ รามคำแหง ลัดเลาะผ่านนํ้าตกสำเกลียว เดินไปท่ามกลางธรรมชาติ อันงดงามจนกระทั่งถึงชุมชนคนนํ้าใจงาม ที่พากันออกมากราบไหว้ พระธุดงค์กันมากมายตลอดทางเมื่อถึงวัดถํ้าพระแม่ย่า มีญาติโยมจำนวนมากมารอถวายน้ำ ปานะ ทุกเช้าก็พากันมาตักบาตรในวัด โดยเตรียมอาหารมา มากมาย

     

 ขณะพักอยู่ที่วัดนี้ พระธรรมทายาทได้ช่วยกัน พัฒนาบริเวณวัด ความขยัน ขันแข็งในการทากิจวัตร กิจกรรมต่าง ๆ การนุ่งห่มที่ เรียบร้อย ความสงบสำรวม ของพระธรรมทายาท ล้วน อยู่ในสายตาของหลวงพ่อ ละม่อม สุวฑฺฒโน เจ้าอาวาสมาโดยตลอด ในวันสุดท้ายก่อนเดินธุดงค์ไปยังวัดต่อไป หลวงพ่อ ละม่อมได้แจ้งกับพระอาจารย์ว่า ท่านขอถวายที่ดินแด่หลวงพ่อ ธัมมชโย เพื่อทำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ทั้งหมดนื้อาจเป็นข้อพิสุจน์ได้ในระดับหนึ่งว่า พระธรรมทายาทในโครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้าน ทั่วไทย มิเพียงสรัางความศรัทธาเลื่อมใสให้แก่ชาวบ้านเท่านั้น แม้พระภิกษุดัวยกันหรือเทวดาทั้งหลายก็ยังเกิดความศรัทธาใน คุณธรรมของพวกท่าน


 

 

       สิ่งที่น่าประทับใจอีกประการหนึ่ง ที่สืบเนื่องมาจากการเดิน ธุดงค์ธรรมชัยในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งแผ่นดินในครั้งนี้ คือ การ ต้อนรับพระภิกษุด้วยการล้างเท้าของท่านให้สะอาด ซึ่งญาติโยม ฝ่ายขายได้ข่วยเช็ดเท้าพระให้แห้งด้วย... ๒ เท้าของพระธุดงค์ที่ตรากตรำตลอดระยะทางอัน ยาวไกล บัดนี้สะอาดเกลี้ยงเกลาขึ้น พร้อม ๆ กับความสะอาดและ บุญกุศลที่เกิดขึ้นในใจของสาธุชนผู้ใจบุญ