ธรรมะ
- รายละเอียด
- ฮิต: 372445
ศีล 227 ข้อ
ของพระภิกษุสงฆ์
ศีล 227 ข้อ เป็นศีลหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ศีล 227 จัดเป็นสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
- รายละเอียด
- ฮิต: 26524
"พระไตรปิฎก" แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำ ๆ ว่า พระ+ไตร+ปิฎก
คำว่า พระ เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง , คำว่า ไตร แปลว่า ๓ , คำว่า ปิฎก แปลได้ ๒ อย่าง คือ คัมภีร์หรือตำราอย่างหนึ่ง และ กระจาดหรือตะกร้าอย่างหนึ่ง ที่แปลว่ากระจาดหรือตะกร้า หมายความว่า เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของฉะนั้น โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ ( และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา ) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก
- รายละเอียด
- ฮิต: 23011
“พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตั้งมั่นอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์แลเป็นผู้มีคุณยิ่งใหญ่ไพบูลย์ ไม่มีที่เปรียบได้ เหมือนทะเลที่ตะคาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ...ชนเหล่าใดถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ทักขิณาของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในโลกระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ กำจัดมลทิน คือความตระหนี่พร้อมด้วยรากเหง้า ชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงฐานะอันเป็นสวรรค์ (ทัททัลลวิมาน)
- รายละเอียด
- ฮิต: 14295
บวชเป็นพระแล้วให้ทำอย่างพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคล เทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร บวชวันหนึ่งรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ก็ปฏิบัติธรรมเรื่อยมา ลูกตั้งใจดีที่บวชอุทิศ
ชีวิต เป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้น ได้ยากในโลก เฉพาะผู้มีบุญบารมีมาก ๆ ที่สั่งสมมาอย่างดีหลายภพ หลายชาติแล้วเท่านั้นจึงจะเกิดจิตสำนึกกระตุ้นเตือนให้รู้สึกอยากบวช ตลอดชีวิต
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายต่างอนุโมทนา
- รายละเอียด
- ฮิต: 7560
บทสำคัญที่ธรรมทายาทควรท่องให้ได้ก่อน ได้แก่ คำขอบรรพชา, คำขอสรณคมน์และศีล, คำขอนิสัย, และคำขออุปสมบท
การบวชในพระพุทธศาสนาต้องมีการกล่าวคำเปล่งวาจาต่อหน้าพระสงฆ์ เพื่อขอและประกาศถึงเจตนารมณ์ของตนให้พระภิกษูสงฆ์ได้ทราบ การกล่าวคำเปล่งวาจานี้ เรียกว่า "ท่องคำขานนาค" ผู้บวชจะต้องท่องคำขานนาคให้ได้เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยและความตั้งใจจริงในการบวชของตน
วิธีท่องคำขานนาคนั้นขั้นแรกต้องอ่านคำที่จะท่องให้ถูกอักขระ โดยออกเสียง สระ พยัญชนะ ให้ถูกต้องชัดถ้อยชัดคำเสียก่อน แล้วจึงเริ่มท่องคำให้คล่องปากในภายหลัง