โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย 5,000 รูป ประจำปี 2568
โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย 5,000 รูป ประจำปี 2568
รับสมัครเยาวชนชายอายุ 10-18 ปี
บวชสามเณรภาคฤดูร้อน
สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568
อบรมบวชสามเณร 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2568
อบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมประจำจังหวัด ทั่วประเทศ
สอบถามโทร. 0 2831 1234
จากสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตของครอบครัว การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารโดยขาดการใช้วิจารณญาณส่งผลให้แต่ละคนแยกตัวเองออกมาจากสังคมปกติ และยังส่งผลกระทบต่อคุรภาพการศึกษา อันเนื่องมาจากขาดวินัยในตนเอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เกิดความคิดเห็นแตกแยก โดยได้รับข้อมูลไม่ครบรอบด้าน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กลายเป็นปัญหาสังคม แบบไม่รู้จบ
ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาครัฐและเอกชน จึงได้จัดโครงการ "บรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย" ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งให้นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย มีจิตสาธารณะอยู่อย่างพอเพียง มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม พหุวัฒนธรรม ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมเป็นนิสัย
การบรรพชาสามเณรทั่วไทย เป็นการสร้างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับเยาวชน หลังลาสิกขาจึงเป็นการปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของชาติและเกิดพลังสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป
ระยะเวลาการอบรม : วันที่ 1 เมษายน - 30 เมษายน พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมประจำจังหวัด ทั่วประเทศ
กำหนดการ
รับสมัครและสัมภาษณ์ : ตั้งแต่วันนี้-วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568
วันเข้าอบรม : วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568
พิธีบรรพชาสามเณรธรรมทายาท : วันที่ 3 - 5 เมษายน พ.ศ.2568
วันสิ้นสุดโครงการ : วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2568
คุณสมบัติ
- เยาวชนชาย อายุ 10 – 18 ปี และได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
- มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ติดยาเสพติดสุรา และบุหรี่
- ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
- สามารถท่องคำขานนาคได้
สิ่งที่ต้องเตรียม
- เสื้อขาวไม่มีลาย จำนวน 2 ตัว
- กางเกงวอร์ม หรือกางเกงขายาว ใส่สบาย ลุกนั่งสะดวก 2 ตัว
- เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาวไม่มีลาย หรือเสื้อนักเรียน จำนวน 1 ตัว (ใช้ในวันบรรพชา)
- กางเกงขาสั้นหรือผ้าขาวม้าสำหรับใส่อาบน้ำ
- มีดโกนหนวดพร้อมใบมีด ผ้าห่ม จำนวน 1 ผืน
- ของใช้ส่วนตัว เช่น ขันน้ำ สบู่ แชมพู ผงซักฟอก แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ไฟฉาย พร้อมถ่านไฟฉาย (ถ้ามี) และรองเท้าแตะ
- ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาทากันยุง ยาแก้โรคกระเพาะ ฯลฯ
สามารถสมัครและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ณ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมประจำจังหวัดทั่วประเทศ โทร. 02-831-1234
พระวินัยบัญญัติ
พระวินัยบัญญัติ
อปฺปเกนปิ เมธาวี
ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ
อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ ฯ
ผู้มีปัญญา มีความพินิจรอบคอบ
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยต้นทุนแม้เพียงเล็กน้อย
เหมือนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่.
ที่มา : จุลลกเสฏฐิชาดก ขุ.ชา. ๒๗/๔
ศีล 227 ข้อ
ศีล 227 ข้อ
ของพระภิกษุสงฆ์
ศีล 227 ข้อ เป็นศีลหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ศีล 227 จัดเป็นสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
ขั้นตอนการบวชพระ
ขั้นตอนการบวชพระ
พิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุกาสะ จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์ของการบวช
๑. ประโยชน์อานิสงส์ที่ตัวผู้ขอบรรพชาจะได้รับนี้อย่างหนึ่ง
๒. ประโยชน์อานิสงส์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะได้รับ นี้อย่างหนึ่ง
๓. ประโยชน์ที่เพื่อนมนุษย์สัตวโลกทั้งหลายจะพึงได้รับ ตลอดจนศาสนาจะพึงได้รับร่วมกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง
การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
ระเบียบการกราบพระรัตนตรัย
การกราบ นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ หัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑ ให้จรดลงแนบกับพื้น และกราบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบนั้น ควรกล่าวคำนมัสการให้จบเสียก่อน จึงค่อยนอบน้อมตัวลงกราบ อย่าน้อมตัวลงในขณะที่กล่าวคำนมัสการยังไม่จบ มิฉะนั้นคำนมัสการจะขาดหายไป และเป็นการกราบที่ไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่น่าดู