ธุดงค์ ธรรมชัย

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก...”

ในสมัยอดีต หลังออกพรรษา ถึงเวลาที่พระภิกษุจะเทียวจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่า “ออกธุดงค์” เป็นการไปฝึกหัดขัดเกลานิสัยไม่ดีให้ดีขึ้น เช่น จะได้ฝึกเป็นผู้มักน้อย สันโดษ อีกทั้งจะได้โอกาสเทศน์โปรดญาติโยมตามชุมชนต่างๆอีกด้วย

ธุดงค์มี 13 ข้อ เลือกถือปฏิบัติได้ตามอัธยาศัย

ในคัมภีร์ได้กล่าวถึงธุดงควัตรเอาไว้ว่า ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องอยู่ป่าหรือออกเดินทางก็ได้ ลำพังการเดินธุดงค์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธุดงควัตรให้ลุล่วงไปได้ พระบางรูปอยู่แต่ในวัดก็สามารถถือธุดงค์ได้หลายข้อ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะปฏิบัติ ข้อใดบ้าง ธุดงควัตรมี 13 ข้อ ดังนี้

  1. การถือผ้าบังสุกุล เป็นวัตร
  2. การถือผ้า 3 ผืน เป็นวัตร
  3. ถือการบิณฑบาต เป็นวัตร
  4. ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้าน เป็นวัตร
  5. ถือการฉันในอาสนะเดียว เป็นวัตร
  6. ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร
  7. ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลัง เป็นวัตร
  8. ถือการอยู่ป่า เป็นวัตร
  9. ถือการอยู่โคนไม้ เป็นวัตร
  10. ถือการอยู่กลางแจ้ง เป็นวัตร
  11. ถือการอยูในป่าช้า เป็นวัตร
  12. ถือการอยูในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้ เป็นวัตร
  13. ถือการนั่ง เป็นวัตร

สำหรับคณะพระธุดงค์ธรรมชัยนั้น เมื่อไปพำนักที่ไหน จะถือธุดงควัตร 2 ข้อ หลักๆ คือ

  • ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะฉันเพียงครั้งเดียว ฉันเข้า เสร็จก็จะออกเดินธุดงค์ทั้งวัน มีเพียงพักฉัน น้ำปานะหรือดื่มน้ำเท่านั้น แต่บางรูปก็ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร
  • ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เจ้าหน้าที่จัดให้ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย ถูกใจ หรือไม่

เดินธุดงค์ในเมือง และธุดงค์ในป่า

การออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนา ไพร ถือเป็นการแสวงหาทางขจัดกิเลสให้กับตัวพระธุดงค์เองเป็นหลัก นับเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนายิ่งนัก ส่วนการเดินธุดงค์ ในเมืองก็ใช่ว่าจะผิดธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติธุดงค์ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ท่านเหล่านี้ได้ศึกษาและรักษาธุดงควัตรมาเป็นอย่างดี เช่น บางรูปถือเนสัชชิกังคะ ไม่นอนในวันพระเป็นวัตร แต่จะนั่งสมาธิทั้งคืนยันสว่าง, ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ฯลฯ การที่ท่านมาพร้อมกันจากทั่วประเทศ มีเป้าหมายเป็นหนึ่งเดียวกันชัดเจน คือ

  1. ต้องการเดินธุดงค์ตามเส้นทางที่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกำเนิด, บรรลุธรรม, เผยแผ่ธรรมครั้งแรก และละ สังขาร เพื่อเป็นการตอกย้ำว่า จะดำเนินตามปฏิปทาของท่านในการสร้างบารมี
  2. เพื่อยกใจชาวโลกให้สูงขึ้น ให้โยมได้โอกาสสั่งสมบุญจะได้มีสุคติสวรรค์เป็นที่ไป

ผลดีจากการเดินธุดงค์ในเมือง

การเดินธุดงค์เป็นหมู่คณะใหญ่ ถือ เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ เป็นบุญตาของชาวโลกที่จะได้ทัศนาพระผู้เป็นอายุพระศาสนา เนื่องจากท่านฝึกตัวมาดีแล้ว ท่านไม่ได้มาเดินเล่นหรือเดินโชว์ แต่เดินตามรอยบาท พระศาสดา และก่อนหน้านี้คณะพระธุดงค์ก็ได้เดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรโปรดญาติโยมตามหมู่บ้านต่างๆมาแล้ว บัดนี้ พุทธบุตรเหล่านี้พร้อมแล้วที่จะมาเดินเพื่อเป็นเนื้อนาบุญในเมืองหลวง

สาธุชนที่ไปต้อนรับจะสังเกตเห็นอากัปกิริยาของพระธุดงค์ว่า เดินอย่าง สงบเสงี่ยม สง่างาม น่าเลื่อมใส สายตา ทอดลงต่ำ มีความสำรวมอินทรีย์ยิ่งนัก ดังนั้น ทุกย่างก้าวของคณะพระธุดงค์ จะเป็นย่างแก้ว... ตามองทาง ใจมองกลาง หยาดเหงื่อที่หลั่งจะกลั่นเป็นเหงื่อแก้ว แค่โยมได้พบเห็นก็เป็นบุญตา ยิ่งได้โอกาสมาต้อนรับด้วยการโปรยดอกดาวเรือง มาเช็ดเท้า ถวายน้ำปานะ นับเป็นโชคลาภวาสนาของโยมแล้ว ครั้งหนึ่งที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ใช่ว่าจะพบเห็นภาพอันเป็นมงคลอย่างนี้บ่อยนัก บางคนไม่มีโอกาสได้พบเห็นเลย การเดินธุดงค์ของท่านก็เพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียว เพื่อยังใจชาวโลกให้สูงขึ้น เป็นการฟื้นฟูธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา เมื่อพระภิกษุรับกฐินแล้วจะออกเดินธุดงค์ ทำให้เกิดทัสนานุตริยะ คือ การเห็นอันประเสริฐแก่ผู้พบเห็นทั่วไป นี่คือสัญลักษณ์ว่า ประเทศไทยของเรา จะร่มเย็นเป็นสุข และประเทศไทย คือ ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก อย่างแท้จริง

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2555

คอลัมน์ ตามตะวัน โดย พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.9 วัดพระธรรมกาย

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

คำว่า “ธุดงค์” ที่มาในบาลีเดิม ไม่พบว่าครบจำนวน 13 ประการในที่เดียว ที่พบจำนวนมาก คือ ม.อุ. 14/186/138; องฺ. ทสก. 24/181/245; ขุ.ม. 29/918/584 ส่วนคำอธิบายทั้งหมดดูในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์

ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานทเทส ฉบับมหามกุฎ เล่ม 29 หน้า 60 ว่าด้วยสีลและวัตร กล่าวว่า “ธุดงค์ เป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล”

เป็นศีลและเป็นวัตร เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วงในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล สมาทาน ชื่อว่า เป็นวัตร เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่า ศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่า เป็นศีลและเป็นวัตร

เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล เป็นไฉน

ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) 8 คือ อารัญญิกังคธุดงค์, ปิณฑปาติกังคธุดงค์, ปังสุกูลิกังคธุดงค์, เตจีวริกังคธุดงค์, สปทานจาริกังคธุดงค์, ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์, เนสัชชิกังคธุดงค์, ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่าเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล

แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล กล่าวคือ

  • พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผลใดอันจะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้ว หยุดความเพียร จักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล
  • พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์ (ความนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ) นี้เพียงนั้น แม้การสมาทานควมเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล

ส่วนในอรรถกถาจูฬวรรคที่ 2 ราหุลสูตรที่ 11 มีข้อมูลเรือง “ว่าด้วยธุดงค์” กล่าวว่า...

  • เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในจีวรดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ 2 ข้อที่เกี่ยกับจีวร คือ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ 1 เตจีวริกังคธุดงค์ 1
  • ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในบิณฑบาต จึงได้สมาทานธุดงค์ 5 ข้อที่เกี่ยวกับบิณฑบาต คือ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ 1 สปาทานจาริกังคธุดงค์ 1 เอกาสนิกังคธุดงค์ 1 ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ 1 ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ 1
  • ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่าได้ทำความอยากในเสนาสนะดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ 6 ข้อที่เกี่ยวข้องด้วยเสนาสนะ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ 1 อัพโภกาสิกังคธุดงค์ 1 รุกขมูลิกังคธุดงค์ 1 ยถาสันถติกังคธุดงค์ 1 โสสานิกังคธุดงค์ 1 เนสัชชิกังคธุดงค์ 1

สรุปว่า “ธุดงค์” เป็นวัตรไม่ใช่ศีล เป็นข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อฝึกตัว ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำ แบ่งเป็น 3 หมวด ตามวัตถุประสงค์การฝึกตัว คือ

  1. จีวร ไม่อยากติดในเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ปฏิบัติหมวดนี้
  2. อาหาร ไม่อยากติดในรสอาหาร ให้ปฏิบัติหมวดนี้
  3. สถานที่อยู่อาศัย ไม่อยากติดที่ติดสบาย ให้ปฏิบัติหมวดนี้

ธุดงค์ ปฏิบัติได้ทั้งในเมืองและในป่า แล้วข้อที่อยู่ป่า เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ข้อ 8 อารัญญิกังธุดงค์ ในป่าสู้กับกิเลสในตัว แต่ธุดงค์ในเมือง ฝ่ากิเลสของคนอื่นด้วย และเป็นเนื้อนาบุญให้กับสาธุชนที่พบเห็นได้ออกมาต้อนรับ อุปัฏฐาก สร้างความสามัคคีของพุทธบริษัท 4 ได้เกื้อกูลสืบทอดประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ

สาธุชนผู้สนใจร่วมกิจกรรมต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัย ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 2 – 27 มกราคม 2556

ติดตามความเคลื่อนไหว และรายงานสดการเดินธุดงค์ธรรมชัย ได้ที่ www.dmc.tv ตรวจสอบและสอบถามเส้นทางไปร่วมต้อนรับพระธุดงค์ได้ที่ www.dmycenter.com หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-831-1234 และ 087-707-7771 ถึง 3

จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2555 คอลัมน์ ตามตะวัน (โดย พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส)

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2555

จัดธุดงค์ธรรมชัย สร้างบุญให้แผ่นดิน

พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการเดินธุดงค์ธรรมชัยฯ กล่าวว่า จากโครงการบวชพระแสนรูปเข้าพรรษา ปี 2555 หลังจบโครงการเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ทางศีลธรรมเป้นอย่างมาก มีพระธรรมทายาทหลายพันรูปปรารถนาบวชต่อ เพื่อฝึกฝนอบรมตนเองและสืบอายุพระพุทธศาสนา ทางกรรมการจัดงานจึงเห็นว่า เพื่อให้พระภิกษุธรรมทายาทเหล่านั้นได้ฝึกฝนตนเองตามพระธรรมวินัยให้ยิ่งๆขึ้นไป

จึงจัดให้มีการเดินธุดงค์ธรรมชัยในเส้นทางสร้างบารมีของพระมหาเถระผู้เป็นต้นแบบในทางธรรม นั่นคือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ถือเป็นโอกาสอันดีที่พุทธบริษัท 4 ได้บำเพ็ญบุญกุศล ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ต้อนรับพระธุดงค์ เป็นสามัคคีงานบุญ สร้างสิริมงคลแก่ชีวิต รวมถึงประเทศชาติ เพื่อต้อนรับศักราชใหม่ ปี 2556 และสมกับที่ทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลก โดยก่อนเดินธุดงค์ พระธรรมทายาทได้ฝึกตัวมา 5 เดือน และฝึกสมาธิอย่างเข้มข้นตลอดเดือนธันวาคม

วัตถุประสงค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ ฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน ซึ่งจัดมาเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยการเดินธุดงค์จะผ่านพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 2 – 27 มกราคม 2556 รวมระยะเวลา 26 วัน เป็นระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร

ติดตามความเคลื่อนไหว และรายงานสดการเดินธุดงค์ธรรมชัย ได้ที่ www.dmc.tv ตรวจสอบและสอบถามเส้นทางไปร่วมต้อนรับพระธุดงค์ได้ที่ www.dmycenter.com หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-831-1234 และ 087-707-7771 ถึง 3

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

ขอเรียนเชิญสาธุชนทุกท่าน ร่วมโปรยกลีบดอกดาวรวย เพื่อเตรียมเส้นทางที่เรืองรองดุจทองคำ ต้อนรับพระธุดงค์ จำนวน 1,128 รูป ตลอด 26 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 27 มกราคม พ.ศ.2556 เพื่อเติมบุญกุศล และเสริมสร้างสิริมงคลครั้งยิ่งใหญ่ แก่ตนเอง ครอบครัว และแผ่นดินไทย

(หมายเหตุ: หากใช้ผ่านแอปพลิเคชั่น ระบบแอนดรอยด์ ชื่อ: driveprofiler / user: dmc / password: dmc072)

ข้อแนะนำในการโปรยกลีบดอกดาวรวยอย่างถูกหลักวิชา

  1. ควรเตรียมกลีบดาวรวยใส่พาน ถาด หรือภาชนะที่สะอาดไว้ ล่วงหน้า
  2. ควรเตรียมที่รองนั่งให้พร้อม และนั่งในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้
  3. ควรสวมชุดขาวเพื่อแลดงความเคารพต่อพระธุดงค์
  4. เมื่อไปถึงบริเวณรอต้อนรับพระธุดงค์ ควรทำความสะอาดพื้นที่ ด้วยการเก็บกวาดเศษหินหรือหนามต่างๆออกจากทางเดิน แล้วเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อย
  5. ควรโปรยกลีบดาวรวยบนเสื่อที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ เพื่อให้เส้นทางเดินของพระธุดงค์เป็นระเบียบ
  6. ควรโปรยกลีบดาวรวยเมื่อพระธุดงค์เดินเข้ามาโนระยะห่าง ประมาณ 50 เมตร และไม่ควรโปรยบนหลังเท้าหรือโปรยใกล้เท้าของท่าน เพราะจะทำให้ขบวนหยุดชะงัก
  7. ไม่ควรปูผ้าหรือวัสดุใดๆบนกลีบดาวรวย ให้มีเฉพาะกลีบดาวรวยล้วนๆ
  8. ก่อนที่พระธุดงค์จะมาถึง ควรอธิษฐานจิต สวดสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย และสวดสรรเสริญคุณของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
  9. ระหว่างการเดินธุดงค์ ไม่ควรทักทายหรือชวนพระธุดงค์สนทนา ไม่ควรถวายจตุปัจจัย และน้ำปานะ หากมีจิตศรัทธา ให้ถวายแด่พระเจ้าหน้าที่ที่รถท้ายขบวน หรือถวายที่จุดพักของพระ
  10. ควรประนมมือและกล่าวคำว่า “สาธุ” ตลอดเวลาที่พระธุดงค์เดินผ่าน และทำใจให้ผ่องใส นึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ไว้ที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา
  11. เมื่อพระเดินธุดงค์ผ่านไปแล้ว ควรเก็บดอกดาวรวย แล้วนำกลับไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นลิริมงคล และเป็นสิ่งระลึกนึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำในครั้งนี้

หมายเหตุ: “ดอกดาวรวย” ที่จะนำไปโปรยต้อนรับพระธุดงค์ คือ “ดอกดาวเรือง” ซึ่งมีชื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง สอดคล้องกับความปรารถนาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่จะยอยกพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองและที่เรียกว่า “ดอกดาวรวย” ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลและความรุ่งเรือง, ร่ำรวย แก่ผู้โปรย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-831-1234

  • รับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ที่ dhammakaya.net
  • รับทราบข้อมูลเพิ่มเติม และติดตามข่าวความเคลื่อนไหว ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสดร) ได้ที่ dmc.tv

 

กำหนดการ ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 2


คำอธิษฐานจิต

คำอธิษฐานจิต โปรยกลีบดาวรวย ต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัย

ด้วยบุญกุศล ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายมาต้อนรับพระธุดงค์ พุทธบุตรผู้เป็นอายุพระพุทธศาสนา ในเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ได้นำกลีบดาวรวย มาโปรยปูลาด ประดุจเป็นเส้นทางสายทองคำ ให้พระธุดงค์ได้เดิน และบูชาธรรมด้วยจิตที่เลื่อมใส ในพระรัตนตรัย และพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

ขอบุญกุศลหนุนนำ ให้ข้าพเจ้า รวยพร้อมทุกสิ่ง รวยทรัพย์ รวยความดี รวยบุญบารมี รวยปัญญา มีผังรวยตลอดกาล ทุกภพ ทุกชาติ

ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง อายุขัยยืนยาว ได้สร้างบารมีไปนานๆ ให้รุ่งเรืองด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ให้ถึงพร้อมด้วย ที่สุดแห่งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ มนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ บริวารสมบัติ นิพพานสมบัติ

ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีดวงปัญญาสว่างไสว เฉลียวฉลาดในศาสตร์ทั้งปวง เป็นบัณฑิตทางโลก เป็นนักปราชญ์ทางธรรม เป็นผู้นำแห่งความดี ผู้นำฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรือง เป็นแสงสว่างแก่ชาวโลก

ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีพลังใจที่จะสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีชีวิตที่สดชื่น สูงส่ง มั่งคั่ง สว่างไสว ดุจดั่งเส้นทางสายทองคำ ที่โปรยด้วยกลีบดาวรวยสีทองผ่องอำไพ จะเดินทางไปที่ใดให้ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง ในทุกหนทุกแห่ง เป็นที่รักของมนุษย์และเทวาทั้งหลาย สร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย ไปทุกภพทุกชาติ

ขอให้ข้าพเจ้า ประสบแต่ความสุข ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า ในชีวิต เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงพระธรรมกายได้โดยง่าย ตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพานเทอญ

นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

บทสรรเสริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)


รับชมวิดีโอ แนะนำเส้นทาง ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 2

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล